วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แผนการเรียนรู้ที่ 1 จำนวน 1 ถึง 10 และ 0

แผนการเรียนรู้ที่ 1จำนวน 1 ถึง 10 และ 0



สาระสำคัญ

จำนวนนับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่งและจำนวนศูนย์ เป็นจำนวนที่ไม่มีสิ่งใดอยู่เลย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. เมื่อกำหนดสิ่งต่างๆ ที่มีจำนวน 1 ถึง 10 และ 0 ให้ สามารถบอกจำนวนได้

2. เมื่อกำหนดสิ่งต่างๆ ที่มีจำนวน 1 ถึง 10 และ 0 ให้ สามารถเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแทนจำนวน และอ่านตัวเลขไทยได้

3. เมื่อกำหนดจำนวนไม่เกิน 10 ให้สองจำนวน สามารถเปรียบเทียบจำนวนและใช้เครื่องหมาย =, , >, < ได้ 4. เมื่อกำหนดจำนวนนับไม่เกิน 10 ให้ สามถึงห้าจำนวน สามารถเรียงลำดับจำนวนได้
สาระการเรียนรู้


1. การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทยแทนจำนวน 1 ถึง 5 และ 0

2. การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทยแทนจำนวน 6 ถึง 10

3. การเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 10

4. เครื่องหมายที่ใช้ในการเปรียบเทียบจำนวน (=, , >, <) 5. การเรียงลำดับจำนวน 1 ถึง 10 กิจกรรมขั้นต้น

ก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียน ครูควรประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และตรวจสอบพื้นความรู้เดิม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน โดยดำเนินการดังนี้

1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ว่า “นักเรียนชอบวิชาคณิตศาสตร์หรือไม่ เพราะอะไร” ให้นักเรียนตอบตามความรู้สึก

2. ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า “วิชาคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงของเราหรือไม่ อย่างไร”



ขั้นกิจกรรม การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทยแทนจำนวน 1 ถึง 5 และ 0


1. ครูเปิดวีดีโอซีดีแสดงจำนวน 1 ถึง 5 และ 0 มาให้นักเรียนดู เมื่อดูภาพที่ปรากฏในวีดีโอซีดี ครูก็ถามว่าสิ่งของในภาพนั้นมีจำนวนเท่าไร ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบ เช่น

- มีตุ๊กตากี่ตัว (2 ตัว) - มีลูกบอลกี่ลูก (4 ลูก)

- มีเรือกี่ลำ (3 ลำ) - มีกาน้ำกี่ใบ (5 ใบ)

- มีรถกี่คัน (1 คัน) - ในภาพมีอะไรบ้าง (ไม่มีเลย)

2. ครูสังเกตการตอบคำถามของนักเรียนแต่ละคน เพื่อดูพื้นความรู้เดิมของนักเรียน และดูว่ามีนักเรียนมากน้อยเพียงใดที่ตอบคำถามได้ถูกต้อง

3. ครูหยิบสิ่งของอย่างละ 1 ชิ้น ชูขึ้นและบอกจำนวน พร้อมกับให้นักเรียนพูดตาม เช่น

- ดินสอ 1 แท่ง - สมุด 1 เล่ม

- ไม้บรรทัด 1 อัน - ชอล์ก 1 แท่ง

- ปากกา 1 ด้าม - หนังสือ 1 เล่ม

4. ครูให้นักเรียนบอกชื่ออวัยวะในร่างกาย

ของเราหรือสิ่งของที่มีเพียงหนึ่ง เช่น ปาก จมูก ศีรษะ ฯลฯ

5. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า หนึ่ง ที่เราพูดกันนั้น สามารถเขียนแทนด้วยตัวเลขหนึ่ง (1) ซึ่งตัวเลขมีทั้งตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย จากนั้นครูเปิดวีดีโอซีดี แสดงตัวเลขหนึ่งที่เป็นตัวเลขฮินดูอารบิกให้นักเรียนดู พร้อมทั้งแนะนำวิธีเขียนว่า จะต้องเริ่มต้นที่จุดใดและลากเส้นไปทางใด

6. ครูแจกบัตรตัวเลขฮินดูอารบิก 1 ให้นักเรียนคนละ 1 ใบ แล้วให้นักเรียนใช้นิ้วมือลากตามตัวเลขนั้น โดยลากให้ถูกวิธี จากนั้นให้นักเรียนเขียนตัวเลข 1 ในอากาศ

7. หลังจากที่นักเรียนเข้าใจการเขียนตัวเลข 1 ที่เป็นตัวเลขฮินดูอารบิกแล้ว ครูสอนวิธีเขียนตัวเลขหนึ่งไทย “๑” บนกระดาน พร้อมทั้งแนะนำวิธีเขียนว่า จะต้องเริ่มต้นที่จุดใด และลากเส้นไปทางใด

8. ครูแจกบัตรตัวเลขไทย “๑” ให้นักเรียนคนละ 1 ใบ แล้วให้นักเรียนใช้นิ้วมือลากตามตัวเลขนั้น โดยลากให้ถูกวิธี

9. ครูเปิดวีดีโอซีดี แสดงจำนวนนับเลขสอง (2) ถึงเลขห้า (5)


ขั้นสรุป

หลังจากที่นักเรียนรู้จักจำนวน 1 – 5 และ 0 พร้อมทั้งเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย แทนจำนวนได้แล้ว ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับจำนวน จนได้ข้อสรุปว่า

- จำนวน 1 2 3 4 5 เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ

- ศูนย์ แทนจำนวนสิ่งของที่ไม่มีอยู่เลย และศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ

- จำนวนใช้บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ

- ตัวเลขฮินดูอารบิก 1 2 3 4 5 และ 0 ตัวเลขไทย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ และ ๐ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนจำนวน อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า และศูนย์ ตามลำดับ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

1.เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยีและสื่อของจริงร่วมกัน เพิ่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2.สร้างBlogได้สวยงามดี
3.ส่งงานรวดเร็วดี แสดงถึงความกระตืนรือร้นและความรับผิดชอบที่ยอดเยี่ยมมาก

กฤษฏชนม์ ภู่อร่าม